ประวัติและความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง 

ประเพณีลอยกระทง 

 

       ประเพณีลอยกระทง เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่คนไทยสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยอ้างอิงมาจากหนังสือ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 12 ของทุกปี

ประเพณีลอยกระทง  และเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง แต่ถึงอย่างไรประเพณีลอยกระทงก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีมาตั้วแต่สมัยไหน แต่ความเชื่อและวัตถุประสงค์ของประเพณีลอยกระทงนั้นจะแตกต่างกันออกไป เช่น ศาสนาพุทธ จะบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี , บูชารอยพระพุทธบาทที่หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันก็คือแม่น้ำเนรพุททาในประเทศอินเดีย หรือถือว่าเป็นการต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ไปโปรดพระพุทธมารดา ประเพณีลอยกระทงนั้นไม่ได้มีแคืประเทศไทยของเราเพียงประเทศเดียว

แต่ยังมี ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเขมร ประเทศอินเดีย ประเทศจีน การลอยกระทงนั้นก็จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยของเราแต่จะต่างกันออกไปคือเรื่องของ ความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น พิธีกรรมการไหว้บูชา แต่คนไทยส่วนใหญ่จะมีความเชื่อว่าการลอยกระทงโดยการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของต่างๆใส่ลงไปในกระทงแล้วนำไปลอย

ถือว่าเป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่ให้เราได้มีน้ำไว้กินไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน สะเดาะเคราะห์โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมถึงการอธิษฐานในสิ่งที่เราปรารถนาลงไปในกระทงอีกด้วย ซึ่งประเพณีลอยกระทงปีนี้ก็ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 

 

       สาเหตุที่ทำไมส่วนใหญ่กระทงถึงต้องเป็นรูปทรงดอกบัว ตามตำนานในหนังสือ นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่เป็นสนมเอกของพระร่วง ในสมัยกรุงสุโขทัยได้พูดถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เมื่อเวลาที่พระร่วงเสด็จประพาสทางน้ำ ในเวลาพระราชพิธีตอนกลางคืน ได้รับสั่งบรรดาพระสนมนางใน ตกแต่งกระทงประดับด้วยเครื่องดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำของด้านหน้าพระที่นั่งในขบวนเสด็จ ในครั้งนั้น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศที่เป็นพระสนมเอก ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น เพราะเห็นว่าเป็ดอกบัวเป็นดอกบัวที่มีลักษณะที่พิเศษ

Share:

More Posts

Send Us A Message

We Are Here To Assist You

contact us today

© 2019 All Rights Reserved